Tuesday, 23 April 2024

[เนื้อหาสำคัญครบถ้วน] จัดฟัน ผ่าตัดขากรรไกร “ก่อน VS หลัง” เหมาะกับใครบ้าง

จัดฟัน ผ่าตัดขากรรไกร ก่อน หรือ หลัง

ใบหน้าที่สวยงามย่อมเกิดจากหลากหลายองค์ประกอบ ไม่ว่าจะเป็นรูปจมูก ดวงตา แก้ม รูปหน้า และแน่นอนว่าเราสามารถปรับแต่งหรือแก้ไขในจุดต่างๆ เหล่านี้ ให้มีความสมดุลกันเกิดขึ้นได้ ด้วยวิธีการต่างๆ โดยเทคโนโลยีทางการแพทย์

แต่สิ่งที่เราปฏิเสธไม่ได้เลยก็คือ ถึงแม้ว่าเรา จะปรับแต่งจมูก ดวงตา และแก้ม แล้ว แต่ถ้าหาก กรอบหน้าของเรายังคงไม่สมดุลกับองค์ประกอบเหล่านั้น ก็เป็นการยาก ที่เราจะมีรูปหน้าที่สวยงามสมส่วนได้ ดังนั้น การผ่าตัดขากรรไกร ซึ่งเป็นการดูแลจุดที่ใหญ่ที่สุดบนใบหน้า จึงเป็นวิธีที่ช่วยให้การปรับแต่งโครงหน้า ให้มีความสมดุลมากยิ่งขึ้นจึงถือเป็นเรื่องที่สำคัญ

ผ่าตัดขากรรไกร นับเป็นวิธีการ ที่ได้รับความนิยม สำหรับการปรับแต่งโครงหน้า โดยเฉพาะผู้ที่มี ปัญหาคางยื่นหรือฟันไม่สบกัน ทั้งนี้ในบางกรณีอาจจะต้องมีการจัดฟันร่วมด้วย ทั้ง 2 วิธีการจึงมักจะเป็น หนทางสำหรับการแก้ไขที่แพทย์ให้คำแนะนำ ในการรักษาและเป็นวิธีการที่มักจะมาคู่กันเสมอ

ในส่วนของการจัดฟันที่ในยุคนี้มีทั้งจัดแบบแฟชั่น และจัดตามความจำเป็นสำหรับผู้มีปัญหาช่องปากจริง โดยทั่วไปแล้ว การจัดฟันมักจะใช้รูปแบบและกระบวนการจัดไม่ซับซ้อนเพื่อช่วยให้ฟันเรียงกันเป็นระเบียบมีความสวยงามแต่สำหรับกลุ่มคนที่มีความผิดปกติในช่องปากซึ่งไม่สามารถใช้การจัดฟันเพียงอย่างเดียว

สำหรับการแก้ไขปัญหาทั้งหมดได้ในทางการแพทย์จึงจำเป็นต้องใช้ การผ่าตัดขากรรไกรร่วมด้วยนั่นเอง ดังนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้จึงเกิดคำถาม ที่เรามักจะได้ยินเสมอ คือ การผ่าตัดขากรรไกรและการจัดฟัน ควรจะทำ อะไรก่อนหลัง ถึงจะดีและเห็นผลมากที่สุดวันนี้เราจะพาไปดูคำตอบสำหรับเรื่องนี้กัน

หัวข้อสำคัญเรื่องผ่าตัดขากรรไกรที่ควรรู้! มีอะไรบ้าง hide

การผ่าตัดขากรรไกร คืออะไร

การผ่าตัดขากรรไกร ถือว่าเป็นการผ่าตัดใหญ่เนื่องจากจะต้อง ผ่าตัดกระดูกขากรรไกร ทั้ง บนและล่าง เพื่อแก้ไขปัญหาความผิดปกติ ของกระดูกขากรรไกร ซึ่งในบางราย อาจจะต้อง ผ่าตัดร่วมกับการจัดฟัน และใช้แพทย์เฉพาะทางทั้ง 2 ด้านคือทันตแพทย์เฉพาะทางด้านจัดฟันและทันตแพทย์เฉพาะทางด้านศัลยศาสตร์ช่องปาก ซึ่งโดยปกติแล้วอาจจะต้องใช้เวลาค่อนข้างนาน

ผู้ที่จำเป็นและเหมาะกับการผ่าตัดขากรรไกร มีใครบ้าง

ผู้ที่เหมาะกับการผ่าตัดขากรรไกรมักจะเป็นผู้ที่มีปัญหา พิเศษในด้านต่างๆ ได้แก่

  • ผู้ที่มีฟันสบกันผิดปกติ
  • ผู้ที่มีปัญหาปากยื่นหรือฝากอูม
  • ผู้ที่มีปัญหาคางยื่น
  • ผู้ที่มีปัญหาฟันล่างครอบฟันบน
  • ผู้ที่มีปัญหาใบหน้ายาว
  • ผู้ที่มีปัญหาหน้าเบี้ยว

ซึ่งผู้ที่มีปัญหาพิเศษทั้ง 6 กรณีนี้ มีสาเหตุที่แตกต่างกัน ดังนี้

1. แก้ไขอาการสบฟันผิดปกติ

ปัญหาฟันสบกันผิดปกติ คือผู้ที่มีปัญหาการสบฟันคร่อมกัน คือ ฟันล่างคร่อมฟันบน (ปกติของคนทั่วไป คือ ฟันบนต้องคร่อมฟันล่าง) สาเหตุหลักๆ เกิดจากกรรมพันธุ์ และการมีกระดูกขากรรไกรล่างที่ยื่นยาวเกินไป ทำให้แนวฟันที่ขึ้นเรียงตัวกัน คร่อมฟันบนไปโดยปริยาย

ผู้ที่มีปัญหานี้มักจะต้องประสบกับปัญหาอีกเรื่องคือกรณีบดเคี้ยว จะทำได้ไม่ค่อยดี และมีปัญหาต่อภาพลักษณ์และความมั่นใจ เนื่องจาก การมีฟันล่างคร่อมฟันบนนั้น ทำให้รูปหน้า ดูยาวไม่สมส่วน โดยรวมจึงเป็นภาพที่ไม่สวยงามนัก การแก้ไขโดยทั่วไปแล้วกรณีนี้ มักจะต้องทำการแก้ไขร่วมกับการผ่าตัดกระดูกขากรรไกรล่างหรือทั้งล่างและบน ขึ้นอยู่กับความผิดปกติว่ามากน้อยเพียงใด

2. ปากยื่น/ปากอูม

ปัญหาปากยื่นหรือปากอูม เกิดจากหลายสาเหตุด้วยกันได้แก่ การมีเนื้อปาก หรือริมฝีปากหนา กรณีนี้แพทย์มักจะใช้การตัดแต่งเนื้อปากให้บางลงก็สามารถทำให้ปากที่ดูยื่นนั้นลดน้อยลงได้

ปัญหาปากยื่นที่เกิดจากตัวฟัน ซึ่งพบว่าบางคนมีฟันที่ยื่นออกมามาก หรืออาจจะเรียกได้ว่าฟันเหยิน ทำให้เป็นการยากที่เราจะใช้ริมฝีปากบน ปิดคลุมลงมาถึงบริเวณฟันได้ ทำให้ปากดูยื่นออกมากว่าปกติ กรณีนี้สามารถใช้การจัดฟัน เพื่อการรักษาได้

ปัญหาปากยื่นที่เกิดจากโครงสร้างของกระดูกขากรรไกร เนื่องจากพบว่ามีการเจริญเติบโตของขากรรไกรล่างน้อยหรือช้าเกินไป ไม่ทันต่อการเจริญเติบโตของขากรรไกรบนทำให้ขากรรไกรล่างเล็ก ฟันบนก็

จะยื่นกว่าฟันล่างมากรูปปากก็จะดูอูมและดูยื่นมากกว่าปกติอีกด้วยกรณีนี้อาจจะต้องใช้การจัดฟันร่วมกับการผ่าตัดกระดูกขากรรไกรเพื่อลดความยื่นของปาก

3. คางยื่น

โดยทั่วไปแล้วผู้ที่มีปัญหาทางยื่นและปัญหาฟันล่างคร่อมฟันบนมักจะมาคู่กันเกิดจากหลายกรณี ซึ่งการแก้ปัญหา ด้วยการจัดฟันเพียงอย่างเดียวอาจจะสามารถทำให้การสบฟันกลับมา เป็นปกติได้แต่ปัญหาคางยื่นอาจจะยังคงอยู่และไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยการจัดฟันเพียงอย่างเดียว

สิ่งที่สำคัญคือผู้ที่มีปัญหาทางยื่นมักจะได้รับผลกระทบต่อเรื่องความสวยงามของใบหน้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมองทางด้านข้าง ซึ่งถ้าหากแก้ไขด้วยการจัดฟันเพียงอย่างเดียวฟันล่างจะล้มเข้าด้านในมาก เพราะต้องดันฟันหน้าด้านบนออกมา ทำให้ฟันหน้าด้านบนดูยื่นขึ้น ในขณะที่ฟันล่าง ในตำแหน่งของคางจะยังอยู่ในตำแหน่งเดิมไม่ได้ถูกแก้ไข จึงทำให้ยิ่งดูคางยื่นไปใหญ่

ในกรณีนี้จึงมักต้องได้รับการแก้ไข ทางด้านทันตกรรมจัดฟันร่วมกับการผ่าตัดเลื่อนกระดูกขากรรไกร ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้วินิจฉัยและวางแผนการรักษาเป็นกรณีไป

4. ฟันล่างครอบฟันบน

ปัญหาฟันล่างคร่อมฟันบนคือภาวะที่มีการสบฟันผิดปกติ เกิดจากฟันล่างเกยฟันบนออกมาความรุนแรงมักจะพบตั้งแต่ฟันล่างยื่นเล็กน้อย โดยที่ฟันล่างและฟันบนเกือบสบกันพอดีไปจนถึงกรณีที่ฟันล่างยื่นออกมามากจนฟันแถวล่างกับแถวบนไม่สามารถสบกันได้เลย

สาเหตุหลักของการเกิดปัญหานี้มักจะพบว่า เกิดจากขากรรไกรล่างไม่ได้อยู่ในแนวที่ถูกต้อง ซึ่งโดยปกติแล้วจะเกิดลักษณะนี้ตั้งแต่แรกเกิดโดยเฉพาะเด็กที่มีพ่อแม่เป็นโรคกลุ่มอาการครูซอง หรือโรคเซลล์ประสาทส่วนต้นซึ่งเป็นโรคทางกรรมพันธุ์ ส่งผลต่อภาวะฟันล่างคร่อมฟันบนได้

5. ใบหน้ายาว

ปัญหาใบหน้ายาว เกิดจากการที่มีกระดูกขากรรไกร ไม่ได้รูปและไม่ได้สัดส่วน ส่วนมากจะพบว่า กระดูกขากรรไกรล่าง ยาวมากกว่าปกติ ซึ่งอาจจะส่งผลทำให้เกิดปัญหาฟันไม่สบกันตามมา

การแก้ไขปัญหานี้ มักจะต้องใช้การจัดฟันร่วมกับการผ่าตัดกระดูกขากรรไกร เพื่อดึงกระดูกขากรรไกรล่างให้สั้นลง พร้อมทั้งจัดฟันเพื่อแก้ไขปัญหาฟันไม่สบกัน ให้ดีขึ้น

6. หน้าเบี้ยว

ปัญหาหน้าเบี้ยว คือลักษณะของใบหน้าส่วนล่าง หรือบริเวณคางและขากรรไกรบิดเบี้ยว โดยมีผลทำให้ฟันบนและฟันล่างไม่สบกัน และไม่อยู่ในแนวระนาบเดียวกัน ส่งผลต่อเรื่องความสวยงามของรูปหน้า

สาเหตุหลัก เกิดได้จากกรณี กรรมพันธุ์ ซึ่งพ่อแม่อาจจะเป็นโรคทางด้านเซลล์ประสาท ซึ่งส่งผลต่อ การเจริญเติบโตของกระดูกขากรรไกรผิดปกติ หรืออีกกรณีอาจเกิดได้จากอุบัติเหตุ รุนแรงส่งผลต่อการผิดเพี้ยนของรูปหน้า ทำให้ใบหน้าเบี้ยวนั่นเอง

การรักษาเพื่อแก้ปัญหาใบหน้าเบี้ยว ส่วนมากแล้วมักจะต้องทำการผ่าตัดขากรรไกรเพื่อปรับเปลี่ยนโครงสร้างใบหน้าให้มีความสมดุลจากนั้นแพทย์จะทำการ วินิจฉัยและพิจารณาในเรื่องของการจัดฟันเพื่อแก้ปัญหาร่วมด้วย อีกครั้ง ซึ่งต้องพิจารณาเป็นกรณีไป

ขั้นตอนการผ่าตัดขากรรไกร

ผ่าตัดขากรรไกรกับศัลยแพทย์ Maxillofacial โดยตรงดีอย่างไร

การผ่าตัดขากรรไกร ซึ่งต้องทำร่วมกับการจัดฟันคือทางเลือกที่ดีที่จะช่วยแก้ปัญหาความผิดปกติของฟันอย่างรุนแรงซึ่งมักจะมีผลกระทบโดยตรงต่อรูปหน้าของผู้ป่วยด้วย กระบวนการทั้งหมด ต้องทำด้วยความระมัดระวังและจำเพาะเจาะจงสำหรับคนไข้แต่ละรายจึงจำเป็นต้อง ทำโดยผู้เชี่ยวชาญ

การผ่าตัดขากรรไกรจะให้ได้ประสิทธิภาพควรผ่าตัดกับศัลยแพทย์ maxillofacial โดยตรง เพราะศัลยแพทย์ด้านนี้ต้องจบด้านทันตกรรมมาก่อน จึงเชียวชาญด้านโครงหน้าและขากรรไกรโดยตรง ซึ่งข้อดี คือทีมศัลยแพทย์จะรู้ถึงปัญหาในภาพรวมทั้งหมดของช่องปากและฟัน จึงสามารถวางแผน แก้ไขปัญหา ได้ตั้งแต่การผ่าตัดขากรรไกร ครอบคลุมไปถึงการแก้ปัญหาโดยการจัดฟันด้วยร่วมด้วย

ผ่าตัดขากรรไกร ก่อนจัดฟัน หรือ จัดฟันก่อน ผ่าตัดขากรรไกร คืออะไร

1. จัดฟันเพื่อเตรียมผ่าตัดขากรรไกรประมาณ 3 ปีเป็นอย่างต่ำ (จัดก่อนผ่าตัด)

การจัดฟันในกรณีที่เป็นการจัดเพื่อเตรียมการผ่าตัดขากรรไกร ถือว่าเป็นการจัดฟันแบบจำเพาะ เพื่อเป็นการเตรียมตัวและวางแผนการรักษาในขั้นตอนต่อไป ไม่ได้เป็นการจัดเพื่อให้ฟันเรียงตัวเพื่อความสวยงามเพียงอย่างเดียวเหมือนในกรณีทั่วไป ดังนั้น กรณีนี้จึงต้องใช้เวลานานเป็นพิเศษ 3 ปีเป็นอย่างน้อย เมื่อจัดฟันเข้าที่แล้ว แพทย์จะทำการผ่าตัดเพื่อเลื่อนขากรรไกรให้สบกัน

หลังจากนั้นจะทำการจัดฟันรอบ 2 เพื่อเก็บรายละเอียดของฟันอีกรอบ ซึ่งวิธีการนี้จะเป็นวิธีการแบบเก่าใช้เวลารักษาค่อนข้างยาวนาน ในประเทศไทยมีโรงพยาบาลซึ่งทำการรักษาด้วยวิธีนี้คือโรงพยาบาลแพทย์มหิดล แต่มีคนไข้ เข้าไปรับการรักษาเป็นจำนวนมาก ดังนั้นผู้ที่ต้องการใช้บริการจึงต้องจองคิวยาวนานข้ามปี

2. ผ่าตัดเลื่อนขากรรไกรก่อน แล้วจัดฟันทีหลัง (ผ่าตัดก่อนจัด)

วิธีการนี้ถือว่าเป็นวิธีการของการรักษาในแบบสมัยใหม่ เกิดขึ้นในประเทศเกาหลีเป็นที่แรก แต่ไม่ใช่ทุกคนจะสามารถรับการรักษาแบบนี้ได้ ต้องขึ้นอยู่กับดุลพินิจของศัลยแพทย์ผ่าตัด ไม่ว่าจะเป็นทีมหมอศัลยกรรมและทีมทันตแพทย์

วิธีการรักษาโดยการผ่าตัดเลื่อนขากรรไกรก่อน แล้วจึงจัดฟันทีหลัง เป็นการประหยัดเวลาในการรักษา เพราะ เนื่องจากหลังการผ่าตัดเลื่อนขากรรไกรแล้วกระดูกฟันเราจะอ่อนตัวลงการจัดฟันเพื่อเก็บรายละเอียดจึงทำได้ง่ายกว่า ใช้เวลาไม่เกิน 1 ปี เท่านั้น บางรายใช้เวลาเพียง 3 เดือนเท่านั้น

แต่ก็ต้องแลกมากับการเสียค่าใช้จ่ายที่สูงมาก ในการผ่าตัดที่ประเทศเกาหลีประมาณ 500,000 -550,000 บาท ไม่รวมส่วนทันตกรรมโดยที่ต้องกลับมาจัดฟันในประเทศไทยต่ออีก

สรุป “จัดก่อนผ่าตัด” หรือ “ผ่าตัดก่อนจัด” วิธีไหนที่นิยมและเหมาะกับคนไทยที่สุด

จากคำถามที่เราเกริ่นนำกันมาตั้งแต่ต้น ว่าระหว่างผ่าตัดขากรรไกรก่อนจัดฟัน กับ ผ่าตัดขากรรไกรหลังจัดฟัน แบบไหนเป็นการรักษาที่ดี และควรเลือกมากกว่ากัน คำตอบสำหรับเรื่องนี้ คือ ” การผ่าตัดก่อนจัด “ เป็นวิธีการรักษา แก้ไขปัญหาขากรรไกร ได้ดีมากที่สุด เพราะนอกจาก เป็นการช่วยให้เราจัดฟันได้ง่ายขึ้นแล้ว ยังช่วยในเรื่องประหยัดเวลา ซึ่งหลังจากผ่าตัดเสร็จ เราใช้เวลาจัดฟันต่ออีกเพียง 6 เดือนเท่านั้น

ตรงกันข้าม ถ้า ” จัดก่อนผ่าตัด “ ใช้เวลายาวนานกว่าประมาณ 1-2 ปี เพราะจะต้องทำการจัดฟัน ตามระยะเวลาปกติ จากนั้นทำการผ่าตัดกระดูกขากรรไกร แล้วต้องมีการจัดฟันเพื่อเก็บรายละเอียดอีก ด้วยกระบวนการทั้งหมดนี้ ใช้เวลารวมกันกว่า 3 ปี บางรายอาจจะมากกว่านั้น เนื่องจากต้อง รอคิวผ่าตัด และรอคิวจัดฟัน นั่นเอง

ข้อควรรู้และการเตรียมตัวก่อนการผ่าตัดขากรรไกร

  • ปรึกษาทันตแพทย์เฉพาะทาง ทั้งทางด้านการจัดฟันและสัญศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล เพื่อรับคำแนะนำอย่างถูกต้องพร้อมการเตรียมตัวก่อนการเข้ารับการรักษา
  • แจ้งแพทย์ให้ทราบถึงโรคประจำตัวรวมถึงยาที่รับประทานเป็นประจำ
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อย 8 ชั่วโมงก่อนเข้ารับการผ่าตัด
  • งดน้ำงดอาหารก่อนวันผ่าตัดตั้งแต่เที่ยงคืนเป็นต้นไป หรือก่อนการทำการผ่าตัดอย่างน้อย 8 ชั่วโมง
  • กรณีที่ ผู้เข้ารับการรักษารับประทานยาหรืออาหารเสริม ตัวใดอยู่อาจจะต้องหยุดรับประทานตามแพทย์สั่ง เช่น ยาป้องกันการแข็งตัวของเลือดหรืออาหารเสริมที่มีผลต่อการป้องกันการแข็งตัวของเลือด

ขั้นตอนจัดฟันร่วมกับผ่าขากรรไกร

ในกรณีที่ผู้เข้าทำการรักษาจะต้องจัดฟันเพื่อเป็นการเตรียมตัวสำหรับการผ่าตัด จะต้องมีการพูดคุย กับแพทย์เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการทำทันตกรรมจัดฟันหรือการผ่าตัดก็ตาม เนื่องจาก กระบวนการและขั้นตอนของการจัดฟันประเภทนี้จะเป็นการจัดฟันที่มีค่าใช้จ่ายที่สูงตามมา

แพทย์จะทำการซักประวัติเอกซเรย์ช่องปากอย่างละเอียดพร้อมถ่ายภาพและเข้าสู่ขั้นตอนการจำลองรูปแบบของฟันผู้ป่วย ที่มีปัญหาเพื่อนำข้อมูลทั้งหมดมาทำการวิเคราะห์หาแนวทางในการรักษา ที่ถูกต้องและดีที่สุดสำหรับผู้ป่วย พร้อมทั้งวางแผนในด้านการจัดฟันร่วมกับพัน ศัลยกรรมช่องปาก โดยมีขั้นตอนดังนี้

  1. แพทย์จะชี้แจงถึงลักษณะความผิดปกติ ของช่องปากว่าอยู่ในระดับใดมีความรุนแรงมากน้อยแค่ไหน เพื่อให้คนไข้ทราบถึงปัญหา และ พิจารณารูปแบบการรักษาที่มีความเหมาะสม ตามที่แพทย์ได้แนะนำ
  2. แพทย์จะแนะนำแผนการรักษาให้ผู้ป่วยเข้าใจและให้ผู้ป่วยเป็นผู้ตัดสินใจเลือกด้วยตัวเอง
  3. แพทย์แจ้งค่าใช้จ่ายในกระบวนการรักษาทั้งหมด ให้ผู้ป่วยทราบคร่าวๆรวมถึงแจ้งระยะเวลาโดยประมาณตั้งแต่เริ่มต้นรักษาไปจนจบแผนการรักษาทั้งหมด
  4. แพทย์ แจ้งผลลัพธ์ภายหลังจากการรักษาบอกถึงข้อดีและข้อเสียรวมถึงความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น ในแต่ละขั้นตอน

การดูแลตัวเองหลังการผ่าตัดขากรรไกร

  • วันแรกหลังการผ่าตัดจะต้องทำการประคบเย็น เพื่อลดอาการบวมประมาณ 2-3 วัน หลังจากนั้นให้ประคบอุ่น
  • รับประทานอาหารเฉพาะอาหารเหลวเท่านั้นพยายามหลีกเลี่ยงการบดเคี้ยว ของแข็ง ทุกประเภท
  • ควรขยับขากรรไกรเพื่อให้มีการเคลื่อนไหวบ้าง จะเป็นการช่วยให้ขากรรไกรไม่ฝืดไม่ติด
  • มันทำความสะอาดช่องปากโดยการบ้วนปากด้วยน้ำยาบ้วนปาก และปฏิบัติตามที่ทันตแพทย์แนะนำเพื่อป้องกันการติดเชื้อ
  • ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด